ปั๊มขึ้นรูปโลหะ การกลึง และอโนไดซ์ คือ 3 ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
09 December 2024
กระแสการย้ายฐานการผลิตจากจีน
ปั๊มขึ้นรูปโลหะ การกลึง และอโนไดซ์ คือ 3 ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
“ช่วงนี้ ไม่ค่อยได้ยินข่าวดีของบริษัทญี่ปุ่นในไทยเลย” นี่เป็นคำพูดที่เราได้ฟังหลายต่อหลายครั้งระหว่างการสัมภาษณ์ อุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมอยู่ในช่วงชะลอตัวเนื่องจากปริมาณยอดขายและการผลิตรถยนต์ลดต่ำลง นอกจากนี้ บริษัทญี่ปุ่นยังตกอยู่ในสถานการณ์อันยากลำบาก จากการแข่งขันกับบริษัทจีนที่รุกเข้ามาในไทยได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางสภาพดังกล่าวกลับมีบริษัทที่พลิกวิกฤติเป็นโอกาส เติบโตด้วยความชำนาญและความสามารถด้านการขายอย่างยืดหยุ่นอยู่ด้วยเช่นกัน กระแสการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาที่ไทยเป็นการกระจายความเสี่ยงด้วยการกระจายห่วงโซ่อุปทานโดยมองทะลุถึงสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างจีนกับอเมริกา ตลอดจนประสบการณ์จากการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในเขตเมืองหยุดชะงักจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ เซนิยะ (ไทยแลนด์) จับกระแสดังกล่าวด้วยความชำนาญที่บูรณาการการปั๊มขึ้นรูปโลหะ การตัดวัสดุเป็นรูปร่างต่างๆ และการชุบสีด้วยกรรมวิธีอโนไดซ์ ไว้ครบวงจรในบริษัทเดียว แม้กระนั้น เมื่อคุณมัตสึโอะ ฟุมิอะกิ ผู้จัดการโรงงานได้เห็นชิ้นงานปัจจุบันที่ผลิตในจีนก็ต้องประหลาดใจในมาตรฐานอันสูงลิบว่า “จีนทำได้ขนาดนี้เลยเหรอ” “เราต้องแข่งขันกับจีนซึ่งสั่งสมประสบการณ์ในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตมาช้านานรวมถึงด้านต้นทุนด้วย” คุณมัตสึโอะกล่าว |
จากขวาไปซ้าย ผู้จัดการโรงงานมัตสึโอะ ฟุมิอะกิ, ฮิโรตะ โยชิฮิโระ MD, ฟุจิวะระ ทะคะยุกิ GM |
เซนิยะ (ไทยแลนด์) เป็นบริษัทในเครือเซนิยะ อลูมิเนียม เอนจิเนียริง (เมืองอิเคดะ จังหวัดโอซากา) ผู้ผลิตสแตนเลสและไททาเนียมซึ่งทำงานปั๊มขึ้นรูปอลูมิเนียมเป็นหลัก เป็นที่รู้จักในวงการการผลิตชิ้นส่วนภายนอกของอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์จากการผลิตเคสเครื่องเล่นเพลงและสมาร์ทโฟนให้กับบริษัทลูกค้ารายใหญ่ในอเมริกาในระยะหลังมานี้
ชิ้นส่วนท็อปโคเวอร์ของกล้องถ่ายรูปซึ่งแสดงถึง ความชำนาญในการผลิตของบริษัท |
เซนิยะ (ไทยแลนด์) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2011 เมื่อได้รับคำสั่งซื้อชิ้นส่วนภายนอกของกล้องดิจิทัลคอมแพค แต่ด้วยวิกฤติการเงินเลห์แมน บราเดอร์สและการเปลี่ยนจากกล้องดิจิทัลคอมแพคไปใช้สมาร์ทโฟนแทน ทำให้ยอดการผลิตไม่เป็นไปตามที่วางแผนเอาไว้ จึงเสริมสร้างโนว์ฮาวและความชำนาญด้วยการผลิตชิ้นส่วนสมาร์ทโฟน ฯลฯ แทนและได้รับคำสั่งซื้อใหม่จากบริษัทผู้ผลิตกล้องสัญชาติญี่ปุ่นชั้นนำในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนท็อปโคเวอร์ของกล้องถ่ายรูป “ลูกค้าบางรายชื่นชมบริษัทของเราว่าถือเป็นระดับแนวหน้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถผลิตชิ้นส่วนอลูมิเนียมภายนอกซึ่งมีรูปร่างซับซ้อนได้แบบครบวงจรโดยไม่เกิดการบิดเบี้ยวหรือแตกเลย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่การปั๊มขึ้นรูปแผ่นอลูมิเนียม กัดผิว ชุบสีด้วยกรรมวิธีอโนไดซ์ไปจนถึงการพิมพ์” ฟุจิวะระ ทะคะยุกิ GM เผยอย่างภาคภูมิใจ “จุดสาคัญคือเทคโนโลยีแม่พิมพ์ เราสร้างความชำนาญในการขึ้นรูปแผ่นหนา 1 ม.ม. ที่โอซากา แล้วสามารถถ่ายทอดเทคนิคการปั๊มขึ้นรูปที่เราสั่งสมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามาที่ไทยด้วยเช่นกัน” ผู้จัดการโรงงานมัตสึโอะกล่าวเสริม |
การจำลองเทคนิคของญี่ปุ่นที่ไทยถือเป็นเรื่องลำบากมากทีเดียว “เรารับพนักงานที่มีฝีมือเข้ามา แต่พนักงานเหล่านั้น กลับไม่กระตือรือร้นนัก ต้องคอยสอนอยู่ใกล้ๆ แบบครูกับนักเรียนอย่างอดทน” ผู้จัดการโรงงานมัตสึโอะเผย
การพัฒนาบุคลากรยังมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ นอกจากแรงบันดาลใจของตัวผลิตภัณฑ์ในการเป็น “ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และกล้องถ่ายรูปชั้นนำ” แล้ว “เมื่อเทียบกับยอดขายของปี 2022 แล้ว ยอดขายของปี 2023 คิดเป็น 1.8 เท่า ส่วนปี 2024 นั้น คาดว่าจะเป็น 2.5 เท่า การสั่งสมประสบการณ์จากการผลิตท่ามกลางการเติบโตขององค์กรนำไปสู่การยกระดับบุคลากร” ผู้จัดการโรงงาน มัตสึโอะวิเคราะห์ว่าการเติบโตขององค์กรช่วยส่งเสริมการเติบโตของพนักงานด้วยเช่นกัน
นอกจากพนักงานประจำแล้ว ฟุจิวะระ ทะคะยุกิ GM ยังเผยอย่างภูมิใจว่า “เราได้รับคำชมจากบริษัทซับคอนแทรคว่า พนักงานซับคอนแทรคของเซนิยะตาถึง มองขาดกว่าพนักงานประจำเสียอีก” ซึ่งพนักงานซับคอนแทรคนั้นมักจะลาออกกันบ่อย ไม่ค่อยอยู่ทน ยากต่อการปลูกฝังความรู้ความชำนาญต่างๆ
การปั๊มขึ้นรูปอลูมิเนียม จุดแข็งของบริษัทเซนิยะ (ไทยแลนด์) |
มีการใช้เครื่องตัดของบราเธอรส์จานวนมาก |
การแข่งขันอย่างรุนแรงกับบริษัทจีนที่รุกเข้าสู่ไทย
เซนิยะ (ไทยแลนด์) เคยผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วย แต่ไม่ถนัดนัก บริษัทจำเป็นต้องขยายธุรกิจอื่นนอกจากชิ้นส่วนยานยนต์ จึงทุ่มเทกับการขึ้นรูปอลูมิเนียมอันเป็นธุรกิจที่เชี่ยวชาญมากกว่า เป็นการจับกระแส “การย้ายฐานการผลิตออกจากจีน” มายังประเทศไทยของผู้ผลิตกล้องถ่ายรูป กระแสดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทางบริษัทเองได้พยายามจับผลิตภัณฑ์อื่น นอกจากกล้องถ่ายรูปด้วย
“หลายปีมานี้เราได้รับคำสั่งซื้อจากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน แต่บริษัทผู้ผลิตและผู้ผลิตชิ้นส่วนสัญชาติจีนเองก็รุกคืบเข้าสู่ไทยกับเวียดนามเช่นเดียวกัน เราจึงต้องแข่งขันกับบริษัทสัญชาติจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ฟุจิวะระ ทะคะยุกิ GM กล่าวถึงการแข่งขันระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่ทวีความรุนแรงขึ้นในประเทศไทย
“ด้วยความที่พนักงานคนไทยเป็นผู้ทำการผลิต จึงไม่ใช่แค่เตรียมเครื่องจักรไว้ให้พร้อมก็สามารถผลิตได้ทันทีแบบที่ญี่ปุ่น” “เราต้องสร้างความแตกต่างด้วยการผสมผสานองค์ประกอบในการผลิตต่างๆ กับผลจากการพัฒนาบุคลากรคนไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หรือผนึกกำลังร่วมกับผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นรายอื่น” ฟุจิวะระ ทะคะยุกิ GM กล่าวต่อ
“จีนมีเทคโนโลยีขั้นสูงก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะแข็งแกร่งไปทุกด้าน จุดแข็งของคนญี่ปุ่นคือการผสมผสานเทคนิคอันหลากหลายไว้ด้วยกัน” ผู้จัดการโรงงานมัตสึโอะกล่าวเสริม
“เราจะไม่แข่งขันด้วยราคาเพียงอย่างเดียว ยุทธศาสตร์การสร้างความแตกต่างของเซนิยะคือเรามีความชำนาญเป็นอาวุธ” “ความชำนาญในการปั๊มขึ้นรูปโลหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นรูปลึกที่เซนิยะสั่งสมมาตลอด 75 ปีนั้นมีคุณค่าอย่างมาก พนักงานของเราเองก็มีความภาคภูมิใจในเรื่องนั้น เราจะทบทวนเทคนิคที่มีอยู่ในปัจจุบันไปพร้อมกับเฟ้นหาวิธีการใหม่ๆ ด้วย” กรรมการผู้จัดการฮิโรตะ โยชิฮิโระกล่าว
เซนิไลท์ ตัวแทนของทุ่น กลุ่มบริษัทเซนิยะ ประกอบไปด้วยบริษัทเซนิไลท์บุย ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเครื่องหมายทางทะเลระดับโลก รับจ้างผลิตที่โรงงานโอคะยะมะกับที่เซนิยะ (ไทยแลนด์) ธุรกิจการผลิตเครื่องหมายทางทะเลเริ่มต้นจากการที่มีหน่วยงานภาครัฐในญี่ปุ่นติดต่อมาว่าไม่มีเครื่องหมายบอกพื้นที่ก่อสร้างท่าเรือในยามวิกาล ซึ่งที่ผ่านมาจะใช้เศษผ้าสีแดงผูกกับปลายลำไม้ไผ่ในการบอกพื้นที่ก่อสร้างเท่านั้น “ประธานบริษัทซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเซนิยะจึงเกิดไอเดียว่า เอาสัญญาณไฟไปติดที่ปลายท่ออลูมิเนียมซึ่งทนต่อการสึกหรอก็ได้นี่ จึงเริ่มผลิตในเวลาต่อมา” ผู้จัดการโรงงานมัตสึโอะเผย เซนิไลท์มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศญี่ปุ่นถึง 80% และชื่อเซนิไลท์ได้กลายเป็นคาทั่วไปที่ชาวประมงท้องถิ่นใช้เรียก ทุ่น และเครื่องหมายทางทะเล เซนิไลท์ยังถือเป็นแบรนด์ชั้นนา มีการส่งไปจาหน่ายทั่วโลกอีกด้วย |